4x4 เช็คลิส! ต้องรู้ให้ครบก่อนไปสอบ PAT4 สถาปัตย์

4x4 Check list ต้องรู้ให้ครบก่อนไปสอบ PAT4 สถาปัตย์ 

" 4 ทฤษฏี ที่ต้องรู้เกี่ยวกับการออกแบบ "

" 4 โจทย์ ที่ต้องฝึก หัวใจหลักของการวาด "

      สำหรับคนที่กำลังเตรียมตัวเพื่อสอบเข้าคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ น้อง ๆ อาจจะมีคำถามเหมือนกัน คือ 

เรื่องที่ฝึกวาดและอ่านอยู่ตอนนี้เนื้อหาครบถ้วนสมบูรณ์ สำหรับการสอบแล้วหรือยัง
.
วันนี้พี่มีเนื้อหา(ทฤษฎีและข้อวาดรูป)มาให้น้องๆมาเช็คกันว่าที่น้องแต่ละคนกำลังทบทวนและฝึกวาดอยู่นั้น
มีส่วนไหนที่เรายังไม่รู้มาก่อนหรือ เคยผ่านตามาแล้วแต่เราลืมไปเสียสนิทเลย
โดยเนื้อหาเหล่านี้พี่ถอดมาจากข้อสอบย้อนหลัง
ทั้ง วิชาความถนัดสถาปัตยกรรมและวิชา pat4
.

เรามาดูกันเลยว่าจะมีเรื่องอะไรบ้าง
เริ่มต้นจาก เนื้อหาทางทฤษฎี ก่อน

.
1. เรื่องการมองภาพและพื้นฐานการออกแบบ (Visual art and design fundamental)


 เนื้อหา  Composition ,Color ,2D-3D Perception, shade and Shadow ,image ,meaning etc.

      ส่วนใหญ่จะเป็นพื้นฐานเรื่องเซ้นส์ของการมองภาพแสงเงาต่างๆ
เช่น โจทก์ภาพคลี่ของกล่องลูกบาศก์ โจทย์การหมุนภาพของภาพมิติสัมพันธ์
ซึ่งจะต้องใช้เซ้นส์และหลักการในการทำภาพต่อเนื่อง เรื่องแสงเงาของภาพสามมิติ
การจัดองค์ประกอบภาพและการสื่อความหมายเป็นต้น
.

      ในส่วนนี้น้องๆสามารถนำข้อสอบเก่ามาฝึกทำโจทย์การมองภาพคลี่
การทำภาพต่อเนื่องได้เลยเพราะโจทย์ ในส่วนนี้ค่อนข้างที่จะต้องใช้เซ้นส์และจินตนาการค่อนข้างสูง
หากน้องน้องได้ฝึกทำโจทย์แบบนี้บ่อยๆ น้องๆจะพอมองออกว่าจะต้องตอบประมาณไหนและจะทำให้ทำโจทย์ได้เร็วขึ้น

.

2.สถาปัตยกรรมและสิ่งแวดล้อม ( Architecture and Environment )


    Climate ,Natural resources, Planning, Human behavior, Human scale ,landscape,etc.

   เนื้อหาในส่วนนี้จะเป็นเรื่องของ การออกแบบอาคารและสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก
เช่น เรื่องสภาพอากาศสำหรับการออกแบบ. การวางผังอาคาร.  พฤติกรรมมนุษย์.  สัดส่วนของมนุษย์และภูมิสถาปัตยกรรม. 

.          

   สำหรับการสอบน้องอาจจะต้องอ่านเพื่อทำความเข้าใจเรื่องของเกณฑ์ที่จะต้องนำมาใช้ในการออกแบบ
เช่น ทิศทางแดด ลม ฝน ในประเทศไทยมีผลอย่างไรกับการออกแบบภาสะน่าสบายในอาคาร (Comfort Zone )เป็นต้น
ซึ่งข้อสอบมักจะถามคำถามเพื่อเช็คความรู้เบื้องต้นในการออกแบบของน้องๆ ว่ามีความเข้าใจมากน้อยเพียงใด 

.

3. ประวัติศาสตร์ศิลปะและสถาปัตยกรรม  (history of art and architecture)


    เนื้อหา History and theory of global and Local Architecture

    เนื้อหาส่วนนี้จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ทางศิลปะและสถาปัตยกรรม
น้องควรจะมีความรู้และความเข้าใจเบื้องต้นถึง สาเหตุและที่มาของ ลักษณะเฉพาะในงานศิลปะและสถาปัตยกรรมในยุคต่างๆ
และระบุได้ว่างานแต่ละยุคสมัยมีความแตกต่างกันอย่างไร รวมถึง ประวัติเบื้องต้นของสถาปนิกและศิลปินที่ออกแบบงานในแต่ละยุคด้วย
.

4.วิทยาศาสตร์ทั่วไปและ คณิตศาสตร์ (General science and mathematics)
undefined

    เนื้อหา Static and Dynamic theory, Equilibrium powers and Thermal theory , Material , Science etc.

   เนื้อหาเกี่ยวกับการคำนวณกลศาสตร์ทางฟิสิกส์ทฤษฎีดุลยภาพพลังงาน ทฤษฎีทางความร้อน วัสดุอาคาร และอื่นๆ
ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเนื้อหาพื้นฐานวิชาฟิสิกส์ของน้อง ๆ มัธยมปลาย ที่อาจจะนำมาออกข้อสอบเพื่อเช็คความรู้เบื้องต้นเรื่องการคำนวณในสายวิชานี้
แนะนำให้ไปหาข้อสอบย้อนหลังที่เป็นเนื้อหาการคำนวณมาลองทำ จะได้เห็นภาพรวมของเนื้อหาที่ออกสอบในส่วนนี้ว่าออกเรื่องอะไรบ้าง

.
ก็จบไปแล้วสำหรับเนื้อหาทาง ภาคทฤษฎี ต่อไปเข้าสู่เนื้อหาข้อวาดที่น้อง ๆ
จะต้องเตรียมให้พร้อมสำหรับการทำข้อสอบ 
จะมีเรื่องอะไรบ้างไปดูกันเลยค่ะ

 1.การเขียนภาพ Isometric  

  น้องที่ฝึกวาดภาพส่วนใหญ่คงจะพอรู้จักกับเจ้าภาพไอโซเมตริก อยู่แล้วว่าภาพไอโซเมตริกนั้น
เป็นหน้าตาอย่างไร แต่ในข้อสอบมักจะให้เราทำโจทย์แบ่งเป็น 2 ลักษณะ
(โดยจะออกข้อสอบทั้งในส่วนของปรนัยและข้อวาด ) คือ 

.

แบบที่1 ให้ภาพ 2 มิติ 3 ภาพ คือ  รูปด้านบน,รูปด้านหน้าและรูปด้านข้าง
โจทย์จะให้ประกอบภาพทั้ง 3 ด้านเข้าด้วยกัน
เป็นภาพสามมิติแล้วจึงหาเงาที่เกิดขึ้นของรูปทรงและแรเงารูปทรงที่เราวาด

.

แบบที่2 โจทย์ให้ภาพ 3 มิติ (รูปไอโซเมตริก)
แล้วให้หาคำตอบว่าภาพแต่ละด้านของรูปทรงนี้หน้าตาเป็นอย่างไร

  โจทย์ข้อนี้สำคัญมาก เพราะในข้อสอบทั้งข้อปรนัยและข้อวาดมักจะออกส่วนนี้
ทุกปีและมีออกข้อสอบหลายข้อ หากน้อง ๆ เข้าใจและฝึกฝนบ่อย ๆ จนถูกต้องแม่นยำ
จะช่วยเพิ่มคะแนนในส่วนข้อวาดและปรนัยให้มากขึ้น

.

2.การฝนภาพตามที่โจทย์กำหนด


โจทย์ข้อนี้ น้องๆสามารถเก็บคะแนนเต็มได้ง่ายมาก ๆ หากน้องเข้าใจจุดประสงค์ของโจทย์นี้
และทำออกมาได้ถูกต้องแนะนำว่าน้อง ๆ ไม่ควรพลาดกับการทำคะแนนเต็มในข้อนี้
รูปแบบข้อสอบเป็นการฝนภาพในช่องที่กำหนด
ให้เกิดเป็นรูปตามที่โจทก์สั่งโดยใช้การแรเงาความเข้ม 3 ระดับ
คือขาว เทาและดำ 
.

จุดประสงค์ของโจทย์นี้ต้องการวัดทักษะหลักการจัดองค์ประกอบภาพ
การแบ่งระยะความลึกของภาพ
โดยน้องๆจะต้องนำหลักการจัดองค์ประกอบมาใช้ร่วมกับการฝนน้ำหนัก
แบ่งระยะความลึกไล่ระดับความเข้ม ขาว-เทา-ดำ
เพื่อให้เกิดภาพที่มีระยะใกล้ ไกล และได้ภาพตรงตามที่โจทย์กำหนด
ในส่วนนี้ให้น้องๆฝึก ทำโจทย์ให้มาก ก็จะเข้าใจและสามารถทำได้อย่างรวดเร็ว 
ย้ำอีกครั้งว่าควรเก็บข้อนี้ให้ได้คะแนนเต็มนะจ๊ะ

.

3.Poster และ Logo

น้องหลายคนเคยได้ยินคำว่า Poster และ Logo กันมาบ้าง
และอาจจะเคยออกแบบและวาด ลงสีมาบ้างแล้ว
.
โจทย์ ข้อสอบอาจจะกำหนดหัวข้อของงาน Poster และให้ออกแบบ Logo
ที่เกี่ยวกับ Poster ที่ออกแบบควบคู่กัน โจทย์จะต่างกันในแต่ละปี
บางปีไม่มีให้ออกแบบ Poster แต่ให้ทำLogo เพียงอย่างเดียว
โดยโจทย์กำหนดเส้นมาให้ในกรอบ
และให้เรานำเส้นนั้นมาใช้ในการออกแบบ Logo ให้กลืนกันเป็นภาพ

.

หลักสำคัญในการออกแบบ Poster และ Logo นั้น
มีอยู่สามหลักคือ
1.เน้นการจัดองค์ประกอบ
2.มีความเรียบง่าย 
3.มีความชัดเจนในการสื่อความหมาย 

.

4.ทัศนียภาพ (Perspective)


     การเขียนภาพทัศนียภาพหรือภาษาง่าย ๆ ที่เราเรียกว่าเขียนตีฟ โจทย์ที่ออกข้อสอบ นั้นมีมาหลายรูปแบบตั้งแต่

1.โจทย์อธิบายเหตุการณ์จากที่หนึ่งไปยังอีกสถานที่หนึ่ง
บอกรายละเอียดของสถานที่นั้นอย่างละเอียดและให้เราวาดภาพทัศนียภาพตามที่โจทก์อธิบาย
(ออกมากที่สุดในข้อสอบ pat4 เกือบทุกปี)

2.โจทย์ที่อธิบายเหตุการณ์
ต่างๆเป็นลำดับเนื้อเรื่องและกำหนดให้เราเขียนภาพโดยคาดเดาว่าจะเกิดเหตุการณ์อะไรต่อไป

3.โจทย์ที่อธิบายเรื่องราวในมุมมองของบุคคล
ที่หนึ่งแต่ให้วาดภาพที่บุคคลในเหตุการณ์เช่นบุคคลที่สองหรือสามกำลังเห็นในเหตุการณ์นั้น

4.โจทย์ที่เป็นลักษณะของเนื้อหาที่ตัดมาจากบทประพันธ์
มีการใช้คำราชาศัพท์ที่จะต้องใช้การตีความหมายก่อนจะวาดออกมาเป็นภาพตามที่โจทก์บรรยาย (ข้อสอบตรงศิลปากร)

5.โจทก์จากบทกลอน
เช่นกลอนสุภาพกลอนแปดกลอนสี่เป็นต้น (ข้อสอบตรงศิลปากร)

6.โจทย์ที่ไม่ได้อธิบายรายละเอียดอะไรเลยแต่กำหนดเป็นหัวข้อสั้นๆ
เช่น “ บรรยากาศงานวันเกิด ” และในกระดาษคำตอบได้กำหนด เส้นภายในภาพมาให้
โดยมีเงื่อนไขให้นำเส้นที่กำหนดมาใช้ในการวาดด้วย (ข้อสอบตรงศิลปากร)
.

ที่ยกตัวอย่างมาทั้งหมดนั้น เป็นตัวอย่างโจทย์ข้อสอบย้อนหลังที่เคยออกมาแล้ว
จุดประสงค์ของโจทย์นี้ คือการเช็คความรูเรื่องมุมมองภาพของตัวน้อง ๆ รวมถึงทักษะการวาดภาพ
ที่โจทย์อธิบายเป็นตัวหนังสือ ออกมาเป็นภาพให้น่าสนใจได้ย่างไร  ซึ่งการวาดภาพ Perspective นั้น
เป็นพื้นฐานของการแสดงงานออกแบบ ของเราให้ผู้อื่นเข้าใจภาพของเราให้เข้าใจตรงกัน  
.

โจทย์ข้อนี้ต้องอาศัยพื้นฐานการวาดภาพ Perspective แบบจุดรวมตา 1 จุดและ Perspective จุดรวมสายตา 2 จุด
ใช้ความเข้าใจเรื่องมุมมองภาพ. ซึ่งแบ่งเป็นสามระดับคือ.
มุมNormal eyes view  มุม bird’s-eyes view และมุม worm’s-eyes view  
การจัดองค์ประกอบภาพ การเน้นระยะภาพ การให้แสงเงาในภาพให้ดูสมจริงด้วย

.

ในส่วนนี้น้อง ๆ ต้องฝึกการวาดภาพมุมต่างๆ
ถือว่าเป็นข้อสอบที่หินที่สุดในส่วนข้อวาดเลยทีเดียว 
อาจจะต้องใช้การเตรียมตัวในการวาดค่อนข้างนาน
เพราะเราจะต้องวาดรายละเอียดทุกอย่างเข้าไปในภาพ
ไม่ว่าจะเป็น คน รถ ต้นไม้ อาคาร สัตว์ และอื่นๆ
ที่เกี่ยวข้องกับโจทย์กำหนด กว่าที่เราจะ วาด Perspective ให้สมบูรณ์ได้นั้น
.
เรายังต้องฝึกวาดรายละเอียดคน รถ ต้นไม้ ก่อน 
ยังไม่รวมถึงรายละเอียดอาคาร
บรรยากาศสถานที่ เป็นยังไงบ้างคะ ว่าหินแค่ไหน
แต่พี่เชื่อว่าน้อง ๆ ตั้งใจและทำอย่างเต็มที่แล้ว จะต้องทำได้อย่างแน่นอน
เพียงน้องจะต้องมีการเตรียมตัวที่ดีเท่านั้นเอง

.

เป็นยังไงกันบ้างคะ น้องคนไหนที่อ่านแล้วอาจจะต้องย้อนกลับไปอ่านใหม่อีกครั้ง
เพื่อทำเช็คลิสออกมาว่าเรายังขาดเนื้อหาส่วนไหนบ้าง
เนื้อหาบางส่วนแนะนำให้หาอ่านเพื่อทำความเข้าหลักการเบื้องต้น.
บางส่วนให้กลับมาฝึกวาดเมื่อคิดว่าเราน่าจะพร้อมกับการสอบแล้ว

.
วิธีที่เช็คความพร้อมของเรานั้นง่ายนิดเดียว เพียงน้อง ๆ ลองเอาข้อสอบเก่าสักชุด
มาจับเวลาทดลองทำอย่างจริงจัง นำมาประเมินก็พอรู้แล้วว่าตนเองยังขาดทักษะการวาดรูปส่วนไหน
หรือยังไม่รู้ เรื่องอะไรบ้าง ส่วนไหนไม่เข้าใจ วาดไม่ได้ ทำไม่ได้ น้อง ๆ
.
ยังมีเวลาที่จะแก้ไข กลับไปฝึกมาใหม่ทั้งการอ่านเนื้อหาทฤษฎี
และการวาด ทั้งฝึกวาดเองและไปเรียนเพิ่มเติมจากสถาบัน
แนะนำคอร์สเรียน เตรียมสอบสถาปัตย์ PAT4
คลิ๊กอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

.
ก็จะช่วยให้น้องๆสามารถไขข้อข้องใจที่เราทำไม่ได้ และส่วนที่ไม่เข้าใจได้ดียิ่งขึ้น
พี่ ๆ ขอเป็นกำลังใจสำหรับน้อง ๆ ที่กำลังเตรีมตัวให้ประสบความสำเร็จอย่าที่หวังไว้
เพราะ “ ทุกการฝึกฝน ล้วนสำคัญ และมีความหมาย”



พื้นฐานการวาด Perspective 
• เข้าใจหลักการวาด Perspective 
• เข้าใจเรื่องสเกลและสัดส่วน
• เข้าใจการลงแสงเงา อย่างง่ายและรวดเร็วทันใจ 




พื้นฐานการวาด Perspective แบบ 1 จุด
• เข้าใจหลักการวาด Perspective 
• เข้าใจเรื่องสเกลและสัดส่วน
• เข้าใจการลงแสงเงา อย่างง่าย




แนะนำคณะและอาชีพเกี่ยวกับศิลปะและการออกแบบ by Nutdesign Studio
• ติดตามผลงานที่โดดเด่นของสถาปนิกชื่อดัง
• สถาปนิกที่ควรรู้จัก ก่อนเข้าเรียนสถาปัตย์
แนะแนวการเลือกคณะที่ใช่ เลือกเรียนในสิ่งที่ชอบ




----

 

 กิจกรรมที่ผ่านมา  
คลิ๊กดูอัลบั้มทั้งหมด

---

 

------


  084 - 3322419   
    ไลน์ไอดี @nutdesignstudio      

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ปรึกษาคอร์สเรียน
สมัครเรียนได้ทางไลน์ คลิ๊กเลย
 

สอบถามข้อมูล


------

บทสัมภาษณ์ จากผู้เรียน NUTDESIGN STUDIO